top of page

วัดแม่นางปลื้ม ลอดซุ้มประตูแห่งมิติดั่งมนต์ขลัง ยลศิลปะอดีต นมัสการหลวงพ่อขาว


ตั้งอยู่บริเวณคลองเมือง ตรงข้ามหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีความเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เต็มไปด้วยเรื่องราวตำนาน และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังคงมีความงดงามด้วยโบราณสถานที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์


ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เดิมเรียกขานว่าวัดท่าโขลง เพราะเป็นจุดที่โขลงช้างผ่าน ก่อนเข้าเพนียด วัดนี้สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 1920 สมัยขุนหลวงพะงั่ว หากข้อมูลนี้ตรงกับความจริง วัดนี้มีอายุกว่า 640 ปี เลยทีเดียว เป็นหนึ่งในวัดที่ตั้งค่ายของพม่าในการจุดปืนใหญ่ระดมยิงเข้าไปในกรุงศรีอยุธยา ทำให้บริเวณนี้มิได้ถูกทำลาย สถาปัตยกรรมก่อสร้างแบบไทยโบราณที่คงความสมบรูณ์มากที่สุด กรมศิลปากรได้จัดขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2538


ส่วนตำนานที่เล่าขานต่อกันมา กล่าวกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือพระองค์ดำ ได้เสด็จล่องเรือไปตามแม่น้ำในช่วงเย็น แต่เกิดติดพายุฝนทำให้ไม่สามารถเสด็จกลับพระราชวังได้ พระองค์จึงเสด็จขึ้นไปท่าน้ำบ้านเก่าหลังหนึ่งซึ่งมีหญิงชราอาศัยอยู่ลำพังเพียงคนเดียว ด้วยสุรเสียงดังกว่าบุคคลทั่วไป นางจึงอ้อนวอนขอให้พระองค์ลดเสียงเบาลง เนื่องจากเกรงว่าหากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จผ่านมาจะมีปัญหาเกิดขึ้น หลังจากนั้นก็นำผ้าแห้งมาให้ผลัดเปลี่ยน แถมพระองค์ยังทรงขอดื่มสุราเพื่อคลายหนาว ซึ่งหญิงชราได้ปฎิเสธไปเนื่องจากเป็นช่วงเข้าพรรษา แต่พระองค์ก็หายอมไม่ จนนางต้องกำชับมิให้บอกใคร ตลอดเวลาที่ได้สนทนากับหญิงชรา เรียกพระองค์ว่าลูกทุกคำ พร้อมน้ำเสียงที่มีจิตเมตตา พอย่ำรุ่งพระองค์ก็เสด็จกลับ หลังจากนั้นก็ให้ข้าราชบริพารไปนำหญิงชราผู้นั้นมายังพระราชวัง ต่อมาทราบชื่อว่า นางปลื้ม พระองค์จึงได้เลี้ยงดูนางเป็นอย่างดี ดุจดั่งพระมารดาของพระองค์เอง หลังจากนางสิ้นชีพก็ได้บรูณะปฎิสังขรณ์ “วัดแม่นางปลื้ม” เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่แม่ปลื้มนั้นเอง


รู้ไหมว่าสิ่งที่น่าสนใจเมื่อมาเยี่ยมชมวัดแห่งนี้ ซึ่งมีหลายจุดที่ควรค่าและอนุรักษ์ยิ่งเพื่อให้สืบทอดถึงลูกหลานตราบนานเท่าที่จะเป็นไปได้ ในการศึกษาศิลปะและสถาปัตยกรรมอยุธยาแบบโบราณ



พระวิหารเก่าแก่ ซึ่งภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อขาว” หรือพระพุทธนิมิตมงคลศรีรัตนไตร พระประธานองค์สีขาวบริสุทธิ์ มีเพียงพระเกศาเท่านั้นที่ทาสีดำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำจากปูนเปลือกหอย ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น



“หลวงพ่อขาว” หรือ พระพุทธนิมิตมงคลศรีรัตนไตร

วิหารแห่งนี้มีประตูตรงกลางหรือซุ้มประตูที่มองตรงเข้าไปเห็นหลวงพ่อขาวอย่างเหมาะสมพอดี ทางวัดจึงได้จัดวางพระพุทธรูป อาทิ พระพุทธรูปปางยืนอุ้มบาตร ปางห้ามสมุทร และพระสังกัจจายน์ เอาไว้ให้สาธุชนกราบสักการะ ประตูกลางแห่งนี้แต่เดิมเป็นประตูสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จผ่านเข้าออก ขุนนางและประชาชนธรรมดาไม่อาจเดินผ่านได้ จัดเป็นจุดไฮไลต์ที่ใครๆมาที่นี้มักไม่พลาดที่จะถ่ายรูปซุ้มประตูแห่งนี้จัดเป็น Unseen แห่งวัดแม่นางปลื้ม ใครๆก็อยากข้ามประตูมิติ เพื่อไปกราบไหว้ หลวงพ่อขาวที่ขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ขอสิ่งใดหลวงพ่อช่วยให้สมหวังและต้องกลับมาอีกครั้ง ปัจุจบันนิยมนำขนมจีนน้ำยามาถวายเพื่อขอโชคลาภ


เจดีย์ประธาน เจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ ทรงระฆังคว่ำตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยม มีรูปสิงห์รายล้อม 36 ตัว เป็นหนึ่งในสองเจดีย์แห่งพระนครศรีอยุธยา (อีกแห่งเจดีย์วัดธรรมิกราช) มีบานบัวประดับด้วยบัวลูกฟัก ลายบัวสืบทอดจากศิลปะเขมร-ลพบุรี แต่ฐานบัวค่อนข้างสูง



เจดีย์ประธาน เจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่

โบสถ์ วัดแม่นางปลื้มเป็นโบสถ์ทรงสึ่เหลี่ยมผืนผ้า หน้าบรรณตกแต่งด้วยเครื่องถ้วย ประดับด้วยปูนปั้นลวดลายวิจิตรเช่นเดียวกับวิหาร ภายในประดิษฐานพระพุทธมหาปิติเทวะนฤมิตปฏิมากรณ์ พระประธานของโบสถ์ ชาวบ้านเรียกกันว่า ‘หลวงพ่อปลื้ม’ โดยหลวงพ่อปลื้มนี้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง


พระพุทธมหาปิติเทวะนฤมิตปฏิมากรณ์ หรือ หลวงพ่อปลื้ม

หากมาถึงที่นี้ก็จะได้รับความประทับใจด้วยบรรยากาศ เงียบสงบ เต็มไปด้วยเรื่องราวเล่าขานพร้อมมนต์ขลัง ให้ผู้มาเยือนสัมผัส ศาสนสถานที่หลายคนอาจยังไม่เคยได้สัมผัสความวิจิตรงดงามตระการตาแบบมนต์ขลังๆ แบบนี้มาก่อน


หากท่านใดสนใจอยากมาเที่ยว วัดแม่นางปลื้ม ทาง Getaway Holidays มีทริปพิเศษ ที่ท่านจะได้เที่ยวสถานที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ ท่านยังได้นั่งรถไฟหัวจักรไอน้ำที่เป็นขบวนประวัติศาสตร์อีกด้วย ซึ่ง 1 ปี มีเพียง 6 ครั้งเท่านั้น! Getaway Holidays ขอนำเสนอ โปรแกรมนั่งรถไฟหัวจักรไปน้ำ เที่ยว "อยุธยา" เสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565 นี้



📍ที่ตั้ง: วัดแม่นางปลื้ม

ตำบลคลองสระบัว อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

























ข้อมูลอ้างอิง :

https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/3569

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%A1

Comentarios


bottom of page